มหัศจรรย์แห่งภารกิจไทย-อินเดีย (ตอนที่ 1)

สำหรับผมในฐานะคนอินเดียที่เกิดและโตในประเทศไทย อินเดียเป็นประเทศไกลตัว และ ไกลตัวมากเพราะในอดีตเราเองไม่เข้าใจและไม่คุ้นเคยกับประเทศอินเดียเลย อีกทั้งเป็นเพราะเราเองก็ไม่อยากไปประเทศอินเดีย แต่เมื่อชีวิตเปลี่ยนไปเรารู้สึกว่าเราได้ถูกกำหนดให้ทำภารกิจไทย-อินเดีย 

สำหรับผมในฐานะคนอินเดียที่เกิดและโตในประเทศไทย อินเดียเป็นประเทศไกลตัว และ ไกลตัวมากเพราะในอดีตเราเองไม่เข้าใจและไม่คุ้นเคยกับประเทศอินเดียเลย อีกทั้งเป็นเพราะเราเองก็ไม่อยากไปประเทศอินเดีย แต่เมื่อชีวิตเปลี่ยนไปเรารู้สึกว่าเราได้ถูกกำหนดให้ทำภารกิจไทย-อินเดีย จากที่เคยไปอินเดียเพื่อไปเยี่ยมญาติๆ และ ไปสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น ผมได้มีโอกาสไปอินเดียในที่ต่างๆที่ไม่เคยคิดจะไป ทำให้วันนี้ผมเข้าใจอินเดียอย่างสุดซึ้ง

 

ทุกอย่างเริ่มต้นจากคุณพ่อเปรม ที่ท่านเห็นว่าอินเดียมีมนต์ขลังและเป็นประเทศที่เกิดมาเพื่อคู่กับไทย อีกทั้งจริงๆแล้วไทยกับอินเดียนั้นมีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนานมากๆ สังเกตได้จากศาสนา พิธีกรรมต่างๆ ภาษา วัฒนธรรม และ ความเชื่อที่ได้นำไปสู่วิถีในการใช้ชีวิตของคนไทย คุณพ่อเปรมพูดเสมอว่า

“คนไทยมีหน้าตา คล้ายๆคนจีน แต่จิตวิญญาณของคนไทยนั้นเป็นของคนอินเดียเสมอมา”

ทว่าเท่านั้นไม่พอเพราะคุณพ่อเปรม ได้แลเห็นว่าประเทศอินเดียนั้นโดยระยะทางก็ใกล้กับประเทศไทย อีกทั้งประเทศอินเดียโดยวัฒนธรรม และ วิถีชีวิตเป็นพ่อค้าคนกลางมากตลอด เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการซื้อและขายมาแต่โบราณ แม้คนอินเดียจะสามารถผลิตสินค้าด้านอุตสาหกรรมรมหนักได้เป็นอย่างดี แต่สินค้ามากมายที่อินเดียไม่สามารถผลิตเองได้ ทำให้อินเดียต้องพึ่งพาการนำเข้า ด้วยสาเหตุดังกล่าวทำให้อินเดียเป็นคู่ค้าที่เหมาะสมกับไทยเป็นอย่างดี เพราะอินเดียต้องการซื้อ และ ไทยต้องการขาย

 

ในอดีตผู้ผลิตไทยได้มีโอกาสเข้าร่วมนิทัศการซึ่งมีผู้ผลิตสินค้าจากหลากหลายประเทศรวมทั้งไทย สิ่งที่น่าแปลกใจคือคนอินเดียให้ความสำคัญกับสินค้าไทยเป็นอันดับแรก เนื่องจากสินค้าไทยมีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม (value of money) นี่น่าจะเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่คนไทยอีกหลายคนที่ไม่ได้ไปออกงานอาจไม่เข้าใจว่า อินเดียต้องการของถูก แต่ในความเป็นจริงถ้าถูกแล้วไม่ดีคนอินเดียเห็นว่าไม่ “คุ้มค่า” ในการซื้อ ด้วยสาเหตุดังกล่าวสินค้าไทยจะขายดีที่สุดในงานนิทัศการต่างๆ จนทุกประเทศต้องตกใจ แต่ทว่าสินค้าไทยกลับไม่สามารถขายได้อย่างต่อเนื่องในอินเดีย กล่าวคือหลังจบนิทัศการไม่มีการซื้อขายต่อเนื่อง เป็นเพราะหลายปัจจัยที่คุณพ่อเปรมแลเห็น และ ตัดสินใจให้ผมเดินทางมาอินเดียเพื่อสืบสารภารกิจที่ท่านได้เริ่มให้เสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์

 

ในที่สุดผมก็ได้เดินทางมาประเทศอินเดีย สำหรับคนรุ่นใหม่อย่างผมที่เป็นคนอินเดียเกิดในไทย มีความเป็นไทยสูงสุดแล้วนั้นการมาอินเดียเพื่อทำงานนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ทำทุกอย่างเพื่อคุณพ่อเปรมจริงๆ เพราะผมรู้ท่านมีเจตนาดีที่อยากทำให้ทั้งประเทศไทย และ อินเดีย รักใคร่กัน จากวัฒนธรรม ศาสนา และ ทุกๆอย่าง คุณพ่อเปรมอยากหล่อหลอมไปสู่ธุรกิจเพื่อให้ความรักแน่นแฟ้นและมั่นคง

 

ถามผมว่าไปแล้วในช่วงแรกๆรู้สึกอย่างไร ? ผมเรียนตรงๆว่างงมากๆ ผมมาทำอะไรที่นี่ ผมจะทำอย่างไรต่อไป เพื่อให้ภารกิจนี้สำเร็จ กว่าที่ผมห่วง คุณพ่อเปรมห่วงมากกว่าผม ท่านรู้ว่าผมคิดอะไร ในขณะเดียวกันท่านก็ได้หาทางให้ผมทำงานให้สำเร็จไว้แล้วเช่นกัน ทว่าทางของท่านไม่ได้งายสำหรับผมเลย ณ.ที่บ้านพักในประเทศอินเดียคุณพ่อเปรมได้เรียกผมเข้ามาคุย ท่านบอกว่า ลูกรักพ่อไหม? ผมบอกว่ารัก ท่านถามผมว่า ลูกศรัทธาพ่อไหม ? ผมถึงกับเงียบไปซักพัก ผมจึงถามพ่อว่า ระหว่างคำว่ารัก และ ศรัทธา นั้นต่างกันอย่างไร? คุณพ่อเปรมบอกสั้นๆว่า หากรักเมื่อพ่อบอกให้ลูกทำอะไรลูกอาจถามพ่อ แต่หากลูกศรัทธาแล้วนั้นลูกจะทำสิ่งที่พ่อบอกโดยไม่ถามอะไรเลย จากคำอธิบายดังกล่าวผมจึงขอเวลาพ่อคิดอย่างถี่ถ้วนก่อนตอบ เพราะผมได้รับรู้แล้วว่าหลังจากนี้ไม่มีอะไรง่ายอีกแล้ว หากผมตอบไป ผมต้องพร้อมที่จะทำทุกอย่างให้ภารกิจนี้สำเร็จ อีกทั้งหนทางของพ่อไม่เคยง่ายดายเลย

 

คุณพ่อเปรมเป็นคนที่คิดต่างจากผู้อื่นในหลายๆด้าน ความคิดที่แตกต่างแต่เปี่ยมไปด้วยความสัตย์จริง ความเมตตา และ ความเสียสละ เพราะความคิดและวิถีของท่านทำให้ท่านมีทุกวันนี้ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ผมในฐานะของคนรุ่นใหม่ ผมมีความเชื่อของการที่ทำให้ตนก่อนทำให้ผู้อื่นเสมอ การที่เราอยู่ในโลกสีเทาๆ ไม่ได้ขาว แต่พ่อเปรมมักจะให้ผมเห็นว่าการที่เราอยู่ในสีเทานั้นไม่ผิดหากแต่ทุกอย่างเริ่มผิดเมื่อเราอยู่จนชินกับสีเทาและแยกแยะไม่ออกว่าอะไรสีขาว สีเทา และ สีดำ หรืออีกนัยคือการที่เราทำผิดจนชินนี่เอง กว่าอื่นใด คือการที่เราไม่กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง หากเราละเลยที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องจะทำให้สีขาวนั้นหายไปเต็มไปด้วยสีเทาและท้ายสุดทุกอย่างจะค่อยๆกลายเป็นสีดำและดำสนิทในท้ายที่สุดเช่นกัน

 

………………………………………(อ่านต่อเร็วๆนี้)

 

ประเสริฐ ปิยะสัจจะเดช